Google Classroom
GeoGebraGeoGebra Classroom

14. การเชื่อมโยงระหว่าง DGS และ CAS (2) (Version 2)

จุดประสงค์การเรียนรู้

เพื่อให้นิสิตครูสามารถใช้การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องมือเรขาคณิตพลวัต และระบบพีชคณิตคอมพิวเตอร์ในการเขียนกราฟของความสัมพันธ์ได้

1. ตัวอย่างการประยุกต์การเขียนกราฟแบบพลวัต: พาราโบลา

บทนิยามของพาราโบลา : พาราโบลา คือเซตของจุดทุกจุดบนระนาบ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นตรงที่เส้นหนึ่งบนระนาบและจุดคงที่จุดหนึ่งบนระนาบนอกเส้นตรงคงที่นั้น เป็นระยะทางเท่ากับเสมอ ส่วนประกอบของพาราโบลา ได้แก่  - เส้นคงที่ เรียกว่า ไดเรกตริกซ์ของพาราโบลา  - จุดคงที่ (F) เรียกว่า โฟกัสของพาราโบลา พิจารณาการเขียนกราฟพาราโบลาจากบทนิยามจาก Task 1 ต่อไปนี้

Task 1:

1) สร้างสไลเดอร์ k ให้เป็นจำนวนจริง มีค่าตั้งแต่ -5 ถึง 5 2) ให้เส้นตรง f เป็นกราฟของสมการ y = k 3) สร้างจุด A เป็นจุดบนเส้นตรง f 4) สร้างเส้นตรง g ซึ่งเป็นเส้นตั้งฉากกับเส้นตรง f ที่จุด A 5) สร้างจุด F เป็นอ็อบเจกต์อิสระ (ไม่อยู่บนเส้นตรงใด ๆ) 6) ลาก 7) สร้างเส้นตรง i ซึ่งเป็นเส้นแบ่งครึ่งตั้งฉากกับ 8) ให้ P เป็นจุดตัดของเส้นตรง g กับเส้นตรง i 9) ลาก และ แล้วซ่อนเส้นตรง g และเส้นตรง i 10) วัดความยาวของ และ 11) คลิกขวาที่จุด P แล้วกด Show Trace เพื่อสร้างรอย 12) เลื่อนจุด A สังเกตรอยของจุด P แล้วตอบคำถาม Task 2 หมายเหตุ : รอยสามารถลบได้ โดยการคลิกเมนู Settings และสามารถยกเลิกการสร้างรอยได้โดยการคลิกขวาที่อ็อบเจกต์ที่ได้สร้างรอย เลือก Show Trace ออก)

2. ตัวอย่างการประยุกต์การเขียนกราฟแบบพลวัต: กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติโดยใช้วงกลมหนึ่งหน่วย

Task 2 ให้ทำกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) สร้างวงกลม c เป็นวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางเป็นจุดกำเนิด และมีความยาวของรัศมีเท่ากับ 1 หน่วย 2) กำหนดจุด A มีพิกัดเป็น (1, 0) 3) สร้างจุด P เป็นจุดบนวงกลม c 4) สร้างส่วนโค้ง d ซึ่งเป็นส่วนโค้งบนวงกลม c จากจุด A ไปยังจุด P ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา 5) ให้ input :=length(d) เพื่อนำความยาวของส่วนโค้ง d แทนลงในตัวแปร  หมายเหตุ : ตัวอักษรกรีก สามารถพิมพ์ได้โดยการกด Alt + <ตัวอักษรภาษาอังกฤษ>    ในกรณีอักษร (theta) นี้ ให้กดแป้นพิมพ์ Alt + t 6) ให้ input Y:=sin() (ใช้ตัว Y พิมพ์ใหญ่) 7) ให้ input Q:=(,Y) 8) เลื่อนจุด P สังเกตรอยเดินของกราฟ Q ที่เกิดขึ้น 9) สร้างรอยเดินทั้งหมดของจุด Q ซึ่งเกิดจากค่าต่าง ๆ บนวงกลมหนึ่งหน่วย (จุด P) โดยใช้ โลคัส ดังนี้ (1) คลิกปุ่ม Toolbar Image เลือก Locus (2) เลือกจุด P ตามด้วยจุด Q จะได้รอยเดินที่เป็นไปได้ทั้งหมดของจุด Q เมื่อเกิดจากจุด P

Task 3: การประยุกต์การเขียนกราฟแบบพลวัต: วงรี

ให้เขียนกราฟของวงรีจากบทนิยามของวงรีดังต่อไปนี้ บทนิยามของวงรี  วงรี (ellipse) คือเซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งผลบวกของระยะทางจากจุดใด ๆ ไปยังจุด F1 และ F2 ที่ตรึงอยู่กับที่มีค่าคงตัว โดยค่าคงตัวนี้มีค่ามากกว่าระยะห่างระหว่างจุดที่ตรึงอยู่กับที่ทั้งสอง จุดสองจุดที่ตรึงอยู่กับที่นี้เรียกว่า โฟกัส (focus) ของวงรี วิธีการเขียนกราฟวงรีในโปรแกรม GeoGebra โดยใช้แนวคิดจากบทนิยาม 1. สร้างส่วนของเส้นตรง AB 2. สร้างจุด C บนส่วนของเส้นตรง AB 3. สร้างวงกลมที่มี A เป็นจุดศูนย์กลาง และมีรัศมีเท่ากับ AB 4. สร้างจุด D บนวงกลมในข้อ 3 5. ลาก และ 6. สร้างเส้นตรง l ซึ่งเป็นเส้นแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ 7. ให้เส้นตรง l ตัดกับ ที่จุด E 8. สร้างรอยจุด E เลื่อนจุด D สำรวจผลที่เกิดขึ้น เพราะเหตุใดจุด E ที่ได้จากการสร้างข้างต้นถึงเป็นจุดบนวงรี?

Task 4: การประยุกต์การเขียนกราฟแบบพลวัต: ไฮเพอร์โบลา

ให้เขียนกราฟของไฮเพอร์โบลาโดยใช้แนวทางจาก Task 3 และบทนิยามของไฮเพอร์โบลาดังนี้ บทนิยามของไฮเพอร์โบลา ไฮเพอร์โบลา (hyperbola) คือเซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งผลต่างของระยะทางจากจุดใด ๆ ไปยังจุด F1 และ F2 ที่ตรึงอยู่กับที่มีค่าคงตัว โดยค่าคงตัวน้อยกว่าระยะห่างระหว่างจุดคงที่ที่ตรึงอยู่กับที่ทั้งสอง จุด F1 และ F2 ดังกล่าวนี้เรียกว่า โฟกัส ของไฮเพอร์โบลา

Task 5: การประยุกต์การเขียนกราฟแบบพลวัต: กราฟของฟังก์ชันโคไซน์โดยใช้วงกลมหนึ่งหน่วย

ให้เขียนกราฟแบบพลวัตของฟังก์ชัน โดยที่ โดยใช้วงกลมหนึ่งหน่วยใน Applet ด้านล่างนี้ ตามแนวทางใน Task 2