15. คุณสมบัติอื่น ๆ ของโปรแกรม GeoGebra (1) (Version 2)
ชื่อ - สกุล รหัสประจำตัวนิสิต 3 ตัวท้าย
เช่น นายวีริศ กิตติวรากูล 500
จุดประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นิสิตครูสามารถใช้กล่องข้อความในการพิมพ์ด้วย LaTeX formula และสร้างข้อความแบบพลวัตได้
1. การพิมพ์ข้อความด้วย LaTeX formula
LaTeX formula เป็นรูปแบบการพิมพ์ข้อความที่รองรับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
1) คลิกปุ่ม เลือก Text
2) คลิกที่ว่างในชิ้นงานจะปรากฏกล่องข้อความขึ้น
3) คลิก Advanced เลือก LaTeX formula
4) ฟังก์ชันพื้นฐานในการพิมพ์โดยใช้ LaTeX formula ที่ควรทราบมีดังนี้
\ หมายถึง เคาะวรรค
\quad หมายถึง tab
\\ หมายถึง เว้นบรรทัด
\<สี>{<ข้อความ>} หมายถึง ใส่สีสำหรับข้อความ
เช่น \blue{ABC} จะแสดงคำว่า "ABC" เป็นสีน้ำเงิน
\underline{<ข้อความ>} หมายถึง ขีดเส้นใต้ข้อความ
\bold{<ข้อความ>} หมายถึง ทำให้ข้อความเป็นตัวหนา
5) การพิมพ์สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ สามารถคลิกดูได้ที่ปุ่ม และปุ่ม LaTeX formula ที่อยู่ใต้คำว่า Advanced
2. ข้อความแบบพลวัต (Dynamic Text)
2.1 การทำให้ข้อความมีการแสดงผลตามตัวแปร สามารถทำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
Task 2:
สถานการณ์: มีตัวแปรจำนวนจริง a และ b อยู่ในช่วง 0 ถึง 5 ต้องการแสดงข้อความในรูปแบบ
<ค่าของ a> บวกด้วย <ค่าของ b> เท่ากับ <ค่าของ a+b>
ตัวอย่างเช่น กรณีที่ a = 2 และ b = 3 จะแสดงผลลัพธ์เป็น "2 บวกด้วย 3 เท่ากับ 5"
ขั้นตอนการสร้าง
1) กำหนดตัวแปร a และ b (ในกรณีนี้สมมติให้เป็นจำนวนจริงบนสไลเดอร์)
2) ในหน้าต่าง Algebra ให้ input c:=a+b
3) คลิกปุ่ม เลือก Text
4) คลิกที่ว่างในชิ้นงานจะปรากฏกล่องข้อความขึ้น
5) คลิก Advanced แล้วคลิกปุ่ม แล้วเลือกตัวแปร a
6) พิมพ์คำว่า "บวกด้วย"
7) เลือกตัวแปร b
8) พิมพ์คำว่า "เท่ากับ"
9) เลือกตัวแปร c
10) คลิก Preview เพื่อตรวจสอบการแสดงผลของข้อความ แล้วคลิก OK
11) จะได้ข้อความตามต้องการ สำรวจการเปลี่ยนแปลงของข้อความโดยปรับสไลเดอร์ค่า a และ b
Task 3:
ให้สร้างสไลเดอร์เพื่อรับตัวแปรสองตัวแปรได้แก่ a และ b ซึ่งเป็นจำนวนจริงในช่วง [0, 10]
และสร้างกล่องข้อความเพื่อแสดงผลดังนี้
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก = <ค่าของ a> <ค่าของ b> = <ค่าของ a b>ตัวอย่างเช่น ถ้า a = 2 และ b = 3 จะแสดงผลเป็น
พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก = 2 3 = 6
2.2 การตรึงข้อความกับจุด
การตรึงข้อความกับจุดสามารถทำได้ดังตัวอย่างกิจกรรมใน Task 3 ดังนี้
Task 4:
สถานการณ์ : จาก Applet ด้านล่างนี้ ต้องการให้แสดงข้อความที่จุด A ว่า
ระยะห่างระหว่างจุด O และจุด A เท่ากับ <ค่าของระยะห่าง> ขั้นตอนการสร้าง 1. สร้างข้อความ text1 ซึ่งเป็นข้อความแบบพลวัตให้แสดงผลดังนี้
ระยะห่างระหว่างจุด O และจุด A เท่ากับ <ค่าของระยะห่าง>2. คลิกเลือกข้อความ text1 แล้วคลิกที่ Settings 3. เลือกเมนู Position ปรับตรง Starting Point ให้เป็น A 4. จะได้ว่าข้อความ text1 จะเปลี่ยนตำแหน่งตามจุด A สามารถปรับตำแหน่งของข้อความรอบ ๆ จุด A ได้ตามความเหมาะสม
3. การตรึงตำแหน่งของอ็อบเจกต์ในหน้าจอ และการล็อกอ็อบเจกต์
การตรึงตำแหน่งของอ็อบเจกต์ในหน้าจอ
- ช่วยไม่ให้อ็อบเจกต์เคลื่อนที่ เมื่อผู้ใช้ทำการเลื่อนตำแหน่ง หรือซูมเข้าหรือซูมออกในชิ้นงาน
- ใช้ได้เฉพาะกับอ็อบเจกต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของพิกัดในชิ้นงาน เช่น ข้อความ ปุ่ม และสไลเดอร์เป็นต้น
- สามารถทำได้โดยคลิกเลือกอ็อบเจกต์ที่ต้องการตรึงตำแหน่งในหน้าจอ แล้วคลิกปุ่ม Pin to Screen ใน Style bar หรือคลิกขวา แล้วเลือก Pin to Screen
การล็อกอ็อบเจกต์
- ช่วยไม่ให้อ็อบเจกต์เคลื่อนที่ ถึงแม้ผู้ใช้จะคลิกเลือกอ็อบเจกต์นั้นแล้วก็ตาม
- สามารถทำได้โดยการคลิกที่อ็อบเจกต์ที่ต้องการล็อก แล้วคลิกปุ่ม Lock Object ใน Style bar หรือ คลิกขวา แล้วเลือก Lock Object
4. การเลือกแสดงผล Graphics แบบ 2 หน้าต่าง
ในกรณีที่ชิ้นงานที่มีความจำเป็นต้องแสดงผลมากกว่า 1 หน้าต่าง ผู้ใช้สามารถกำหนดอ็อบเจกต์ให้แสดงในหน้าต่างใดหน้าต่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 หน้าต่างพร้อมกันก็ได้ดังนี้
Task 5:
สถานการณ์ :
พิจารณา Applet ด้านล่างนี้ จะเห็นว่าประกอบด้วยอ็อบเจกต์ 3 อย่าง ได้แก่ 1) ข้อความ "Graphics 1" 2) ข้อความ Graphics 2 และ 3) ข้อความ Graphics 1 & Graphics 2
ต้องการปรับการแสดงผลดังนี้
1) ข้อความ "Graphics 1" แสดงในหน้าต่าง Graphics 1 เท่านั้น
2) ข้อความ "Graphics 2" แสดงในหน้าต่าง Graphics 2 เท่านั้น
3) ข้อความ "Graphics 1 & 2" แสดงทั้งในหน้าต่าง Graphics 1 และ Graphics 2
ขั้นตอน
1) Graphics 1 แสดงผลในหน้าต่าง Graphics 1 ถูกต้องแล้ว จึงไม่ต้องดำเนินการใด ๆ
2) คลิกเลือกข้อความ Graphics 2 คลิก Settings ไปที่เมนู Advanced แล้วเลือก Graphics 2 อย่างเดียวเท่านั้น
3) คลิกเลือกข้อความ Graphics 1 & 2 คลิก Settings ไปที่เมนู Advanced แล้วเลือก Graphics 1 และ Graphics 2